กระบวนการขึ้นรูปแบบเทอร์โมฟอร์มิ่งเป็นกระบวนการขึ้นรูปแผ่นหรือฟิมล์พลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติกที่ผ่านการให้ความร้อน(Heating) แล้วทำให้เกิดการยืดตัว(Stretching)บนผิวแม่พิมพ์เพื่อให้ได้รูปร่างและขนาดชิ้นงานที่ต้องการ โดยหลังจากที่ชิ้นงานเย็นตัวและถอดจากแม่พิมพ์แล้วก็จะถูกนำไปตัด(Trim) เพื่อแยกเอาชิ้นงานออก ตัวอย่างชิ้นงานที่มีความหนาน้อยกว่า 1.5 mm. (Thin Gauge Thermoforming) ได้แก่ บรรจุภัณฑ์อาหาร, บรรจุภัณฑ์ยา เป็นต้น ส่วนชิ้นงานที่มีความหนามากกว่า 1.5 ~ 13 mm. (Thick Gauge Thermoforming) ได้แก่ แผงบุประตูตู้เย็น, อ่างอาบน้ำ, พื้นปูกระบะ อุปกรณ์แต่งรถเช่น สเกิร์ต, สปอยเลอร์ เป็นต้น
รูปที่1 ลำดับขั้นการการทำงานของกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่งโดยทั่วไป
a) บรรจุภัณฑ์สำหรับใส่ผลไม้
รูปที่2 ตัวอย่างงานที่ผลิตจากกระบวนการขึ้นรูปแบบเทอร์โมฟอร์มมิ่ง
ข้อดีของกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่งคือ
· สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้เร็ว
· มีค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะแม่พิมพ์ที่ถูกกว่ากระบวนการอื่น วัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์อาจเป็น
ไม้, อีพ็อกซี่, อะลูมิเนียม ฯลฯ
· ประเภทของพลาสติกที่ใช้ในกระบวนการนี้ PP,
PS, PET, LPDE, HPDE, PC, ABS เป็นต้น
หลักการขึ้นรูปชิ้นงานโดยทั่วไปมีดังนี้
รูปที่6 ลำดับขั้นตอนการทำงานของ Structural Mechanics Engineer ร่วมกับ SOLIDWORKS(ภาพจาก Dassault Systems)
เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
จึงยกตัวอย่างการจำลองกระบวนการเทอร์โมฟอร์มมิ่งแบบง่ายๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.เนื่องจากเหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ
จึงเลือกการจำลองแบบ Explicit Dynamics
2.จำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 3 ขึ้นตอน คือ
· ให้ความดันแก่แผ่นพลาสติก
· แม่พิมพ์เคลื่อนที่เพื่อรอรับการขึ้นรูปของแผ่นพลาสติกในขั้นตอนถัดไป
· สร้างสุญญากาศเพื่อให้แผ่นพลาสติกเกิดการยืดตัวบนผิวแม่พิมพ์จนได้ชิ้นงานตามที่ต้องการ
หมายเหตุ
· อุณหภูมิของแผ่นพลาสติด 480 K
· ตัวอย่างละเว้น เรื่องการถ่ายเทความร้อน และ
ขั้นตอนการจับยึ่ดแผ่นพลาสติด
3.แผ่นพลาสติกเลือกใช้เอเลเมนต์แบบ continuum
shell
4.แบบจำลองวัสดุของแผ่นพลาสติก อาจจะเลือกใช้เป็น viscous
– elastic หรือ Johnson – Cook อย่างใดอย่างหนึ่ง
5.กำหนดเงื่อนไขคอนแทคแบบ general
6.เลือกการคำนวณว่าจะเป็นแบบ Local หรือ Cloud
รูปที่7 ภาพตัวอย่างกระบวนการขึ้นรูปแบบเทอร์โมฟอร์มมิ่ง(ภาพจาก Dassault Systems)
รูปที่8 แสดงจุดบกพร่อง fold และ underfill(ภาพจาก Dassault Systems)
รูปที่9 แสดงค่าความหนา ณ ตำแหน่งต่างๆ บนชิ้นงาน(ภาพจาก Dassault Systems)
0 ความคิดเห็น